วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี จังหวัดสมุทรปราการ


   ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี จังหวัดสมุทรปราการ  
านเทศกาลสงกรานต์พระประแดง ทุก ๆ ปี ในวันอาทิตย์แรกหลังจากเทศกาลสงกรานต์ ชาวเมือง พระประแดงร่วมกับอำเภอเมืองพระประแดง จัดงานประเพณีสงกรานต์ตาม แบบพื้นบ้านของชาวรามัญ มีขบวนแห่นางสงกรานต์ ปล่อยนกและปล่อยปลา มีการละเล่นพื้นเมือง เช่น สะบ้า ทะแยมอญและมอญรำ งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ มีงานฉลอง 9 วัน 9 คืน (เริ่มตั้งแต่วันแรม 5 ค่ำ เดือน 11) ในงานมีการประกวดขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์โดยทาง รถยนต์รอบตลาดปากน้ำ แล้วลงเรือแห่ไปตามลำน้ำเจ้าพระยาจนถึงที่ว่าการ อำเภอพระประแดง แล้วย้อนกลับมาที่องค์พระสมุทรเจดีย์ มีพิธีเวียนเทียนรอบ องค์พระสมุทรเจดีย์ มีการแข่งเรือในลำน้ำเจ้าพระยา รวมทั้งมีมหรสพสมโภช และการแสดงสินค้าต่างๆ ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวบางพลี จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีใน วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 การจัดงานประกอบด้วยการนมัสการ และขบวนแห่หลวงพ่อโตทั้งทางบกและ ทางน้ำ การแข่งขันกิจกรรมพื้นบ้าน เช่น การจัดพานดอกบัว มีการประกวดเรือ ประเภทต่างๆ และการแสดงการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เพลงเรือ ในช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 จะเป็นงานประเพณีการรับบัวหรือ โยนบัว โดยประชาชนจะโยนดอกบัวลงในเรือขบวนแห่พระพุทธรูปจำลอง ของหลวงพ่อโตงานนมัสการหลวงพ่อปาน เป็นงานประจำปีของชาวบางบ่อ ที่จัดขึ้นที่วัดมงคลโคธาวาส ในช่วงประมาณวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของหลวงพ่อปาน มอญรำ เป็นประเพณีของชาวรามัญโบราณตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการใช้ปี่พาทย์มอญเล่นประกอบการรำและการร้อง ใช้หญิงสาวจำนวน 8-12 คนขึ้นไปรำในงานพิธีมงคล โดยจะแต่งกายชุดของชาวมอญห่มสไบเฉียง เสื้อแขนยาวทรงกระบอกคอกลม เกล้าผมมวยรัดด้วยดอกมะลิ ทัดดอกไม้สดข้างหูและสวมกำไลที่ข้อเท้าทะแยมอญ ทุกโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครึกครื้น เป็นการละเล่นพื้นเมืองของหนุ่มสาวชาวมอญ มีลักษณะคล้ายหมอลำของภาคอีสาน หรือลำตัดของคนไทยภาคกลาง มีการร้องเพลงเกี้ยวพาราสีต่อปากต่อคำกันการเล่นสะบ้า จัดขึ้นในวันสงกรานต์เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวมอญจัดขึ้นในวันสงกรานต์ตอนบ่ายๆ หนุ่มสาวชาวบ้านพบปะสมาคมกันอย่างใกล้ชิด โดยพวกผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายจะเปิดโอกาสให้ลูกหลานของตนแต่งกายให้สวยงาม มาชุมนุมเล่นทอยลูกสะบ้ากัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแสดงจังหวัดสมุทรปราการ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแสดงจังหวัดสมุทรปราการ

จังหวัดสมุทรปราการ


ข้อมูลแนะนำจังหวัดสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ที่บริเวณปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา ติดชายฝั่งทางด้านเหนือของอ่าวไทย เป็นจังหวัดขนาดเล็กบริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกว่า "เมืองปากน้ำ" และ "เมืองพระประแดง" สมุทรปราการเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สำคัญของประเทศ มีชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนทำธุรกิจเป็นจำนวนมาก จึงเป็นจังหวัดที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมหาศาลในปัจจุบัน
จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ประมาณ 1,004 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 627,557 ไร่ จัดเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 70 ของประเทศไทย มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายสำคัญ และมีคลองสาขาแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวนมาก สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม แบ่งเป็น 3 บริเวณ คือ บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เหมาะแก่การทำนาและทำสวน บริเวณตอนใต้ใกล้ชายฝั่งทะเล น้ำทะเลท่วมถึง พื้นดินและแหล่งน้ำจืดเค็มจัดในฤดูแล้ง มีป่าชายเลนตามชายฝั่ง เหมาะแก่การทำป่าจาก ป่าฟืน และบริเวณที่ราบกว้างใหญ่ทางตอนเหนือและทางตะวันออก เหมาะแก่การเพาะปลูก
ปัจจุบันจังหวัดสมุทรปราการแบ่งการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และกิ่งอำเภอบางเสาธง
ประวัติความเป็นมา
จังหวัดสมุทรปราการสมุทรปราการเป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวเมืองเก่าตั้งอยู่แถบอำเภอพระประแดงในปัจจุบัน เคยเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่สำคัญในอดีต และเป็นจุดพักของเรือสินค้าต่างชาติที่มาติดต่อค้าขายกับไทย ที่บริเวณริมทะเลมีการสร้างป้อมค่ายคูเมืองอย่างมั่นคงแข็งแรงเมืองสมุทรปราการ
ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้รื้อกำแพงเมืองพระประแดงออก จนกระทั่งเมื่อถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงเห็นว่าเป็นช่องทางที่ข้าศึกจะยกทัพมาได้ จึงโปรดให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นที่ตำบลปากน้ำในปี พ.ศ. 2362 ใช้เวลาในการสร้าง 3 ปี และได้โปรดให้สร้างป้อมปราการขึ้นทั้งสองฝั่งแม่น้ำถึง 6 ป้อม คือ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมประกายสิทธิ์ ป้อมนาคราช และป้อมผีเสื้อสมุทร โดยในขณะที่กำลังสร้างเมืองนั้น พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรหลายครั้ง และโปรดให้สร้างพระมหาเจดีย์ขึ้นที่เกาะกลางน้ำ แล้วพระราชทานนามว่า "พระสมุทรเจดีย์" แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อนที่เจดีย์จะสร้างเสร็จต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างพระสมุทรเจดีย์ต่อจนสำเร็จ และสร้างป้อมขึ้นอีก 3 แห่ง คือ ป้อมตรีเพชร ป้อมคงกระพัน และป้อมเสือซ่อนเล็บ
ในปี พ.ศ. 2402 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระสมุทรเจดีย์ให้สูงขึ้น และโปรดให้สร้างป้อมชายทะเลอีกแห่งหนึ่ง พระราชทานนามว่า "ป้อมพระจุลจอมเกล้า" ซึ่งในปัจจุบัน ป้อมต่างๆ ได้เสื่อมโทรมและปรักหักพังลงเสียเป็นส่วนใหญ่ คงเหลือแต่ป้อมผีเสื้อสมุทรและป้อมพระจุลจอมเกล้าเท่านั้น
อาณาเขต
» ทิศเหนือ : ติดต่อกับ กรุงเทพฯ
» ทิศใต้ : ติดต่อกับ อ่าวไทย
» ทิศตะวันออก : ติดต่อกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา
» ทิศตะวันตก : ติดต่อกับ จังหวัดสมุทรสาคร
ระยะทาง
ระยะทางจากจังหวัดสมุทรปราการไปยังจังหวัดใกล้เคียง
กรุงเทพฯ46 กม.
จังหวัดสมุทรสาคร85 กม
จังหวัดฉะเชิงเทรา124 กม.

ระยะทางจากอำเภอเมืองสมุทรปราการไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอพระประแดง12 กม.
อำเภอบางพลี17 กม.
อำเภอพระสมุทรเจดีย์21 กม.
กิ่งอำเภอบางเสาธง32 กม.
อำเภอบางบ่อ38 กม.
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ (Phra Samut Chedi Worship Festival)
จัดขึ้นช่วง : เดือนพฤศจิกายน 
สถานที่ : บริเวณองค์พระสมุทรเจดีย์ 
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ เป็นงานประจำปีที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการ โดยกำหนดเอาวันแรม 5 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีเป็นวันเริ่มงาน ก่อนเริ่มงานประมาณวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชายหญิงพร้อมใจกัน ไปช่วยเย็บผ้าแดงผืนใหญ่สำหรับห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ ก่อนวันร่วมงานจังหวัดจะทำ พิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยและพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตลอดจน พระเทพารักษ์ ณ บริเวณองค์พระสมุทรเจดีย์ และพอถึงแรม 5 ค่ำ เดือน 11 จะมีการเชิญผ้าแดงผืนนี้ขึ้นตั้งบนบุษบก ใช้เรือยนต์เป็น พาหนะแห่ไปรอบๆ ตัวเมืองแล้วเชิญผ้าแดงแห่ไปตามลำน้ำเจ้าพระยา จนถึงอำเภอพระประแดง เพื่อให้ชาวพระประแดงร่วมอนุโมทนาแล้วจึงนำขบวนแห่กลับมาทำพิธีทักษินาวรรต รอบองค์พระสมุทรเจดีย์แล้วนำขึ้นห่มทางจังหวัดจัดงานฉลองทั้งสองฝังอำเภอ เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งตัวจังหวัดและฝั่งอำเภอ พระสมุทรเจดีย์เป็นเวลา 9 วัน 9 คืนประเพณีรับบัวหรือโยนบัว
ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว (Yon Bua Festival)
จัดขึ้นช่วง : เดือนพฤศจิกายน 
สถานที่ : บริเวณลําคลองสําโรงหน้าที่ว่าการอําเภอบางพลี และบริเวณวัด บางพลีใหญ่ 
เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวบางพลี จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 จะเป็นงานประเพณีการรับบัวหรือโยนบัว โดยประชาชนจะโยนดอกบัวลงในเรือขบวนแห่พระพุทธรูปจำลองของหลวงพ่อโต ในขณะเดียวกันชาวบางพลีก็จะโยนบัวให้กับคนต่างบ้านที่พายเรือมาเที่ยวด้วย เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน การจัดงานประกอบด้วยการนมัสการและขบวนแห่หลวงพ่อโต ทั้งทางบกและทางน้ำ การแข่งขันกิจกรรมพื้นบ้าน อาทิ การจัดพานดอกบัว มีการประกวดเรือประเภทต่างๆ และการแสดงการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เพลงเรือ
งานประเพณีแข่งเรือหน้าเมืองพระประแดง (A Boat-race in front of Muang Phra Pradaeng)
จัดขึ้นช่วง : เดือนพฤศจิกายน 
สถานที่ : บริเวณลำน้ำเจ้าพระยาหน้าเมืองพระประแดง 
ประเพณีแข่งเรือหน้าเมืองพระประแดง จัดขึ้นในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นวันแข่งเรือซึ่งเป็นประเพณีต่อเนื่องมาจากบางพลี ซึ่งจัดงานรับบัว แล้วต่อมาด้วยการแข่งเรือที่พระประแดง และปิดท้ายด้วยงานพระสมุทรเจดีย์ ซึ่งมีการแข่งขันเรือยาวเช่นเดียวกันงานประเพณีแข่งเรือหน้าเมืองพระประแดง
งานนมัสการหลวงพ่อปาน (Luang Pho Pan Worship Fair)
จัดขึ้นช่วง : เดือนธันวาคม 
สถานที่ : บริเวณที่ว่าการอำเภอบางบ่อ 
เป็นงานประจำปีของอำเภอบางบ่อสืบต่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปีจนกลายเป็นประเพณีสำคัญของชาวอำเภอบางบ่อและประชาชนใกล้เคียง แม้ท่านได้มรณภาพมามากกว่า 50 ปีแล้ว ที่จัดขึ้นในช่วงประมาณวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของหลวงพ่อปาน
งานเทศกาลสงกรานต์ปากลัด (Pak Lat Songkran Fair - Phra Pradaeng)
งานเทศกาลสงกรานต์ปากลัดจัดขึ้นช่วง : เดือนเมษายน 
ทุกๆ ปี ในวันอาทิตย์แรกหลังจากเทศกาลสงกรานต์ (13 เมษายน) ชาวเมืองพระประแดงร่วมกับอำเภอเมืองพระประแดง จัดงานประเพณีสงกรานต์ตามแบบพื้นบ้านของชาวรามัญ มีขบวนแห่นางสงกรานต์ ปล่อยนกและปล่อยปลา มีการละเล่นพื้นเมือง เช่น สะบ้า ทะแยมอญ และมอญรำ

อำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ





อำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ
   ชื่ออำเภอ ตำบล อบต.
 01 - อำเภอเมือง 110101 - เทศบาลนครสมุทรปราการ    
 110102 - ตำบลสำโรงเหนือ    
 110103 - ตำบลบางเมือง   
 110104 - ตำบลท้ายบ้าน    
 110105 - ตำบลท้ายบ้านใหม่    
 110108 - ตำบลบางปูใหม่    
 110110 - ตำบลแพรกษา    
 110111 - ตำบลบางโปรง   
 110112 - เทศบาลตำบลบางปู    
 110113 - ตำบลบางด้วน   
 110114 - เทศบาลตำบลบางเมือง    
 110115 - ตำบลเทพารักษ์   
 110117 - ตำบลแพรกษาใหม่    
 
 02 - อำเภอบางบ่อ 110201 - ตำบลบางบ่อ   
 110202 - ตำบลบ้านระกาศ   
 110203 - ตำบลบางพลีน้อย   
 110204 - ตำบลบางเพรียง   
 110205 - ตำบลคลองด่าน   
 110206 - ตำบลคลองสวน   
 110207 - ตำบลเปร็ง   
 110208 - ตำบลคลองนิยมยาตรา   
 
 03 - อำเภอบางพลี 110301 - ตำบลบางพลีใหญ่   
 110302 - ตำบลบางแก้ว   
 110303 - ตำบลบางปลา     
 110304 - ตำบลบางโฉลง   
 110308 - ตำบลราชาเทวะ   
 110309 - ตำบลหนองปรือ   
 
 04 - อำเภอพระประแดง 110401 - เทศบาลเมืองพระประแดง    
 110402 - ตำบลตลาด    
 110407 - เทศบาลตำบลสำโรงใต้    
 110408 - ตำบลบางยอ   
 110409 - ตำบลบางกะเจ้า   
 110410 - ตำบลบางน้ำผึ้ง   
 110411 - ตำบลบางกระสอบ    
 110412 - ตำบลบางกอบัว   
 110413 - ตำบลทรงคนอง    
 110416 - เทศบาลตำบลลัดหลวง    
 
 05 - อำเภอพระสมุทรเจดีย์ 110501 - ตำบลนาเกลือ    
 110502 - ตำบลบ้านคลองสวน    
 110503 - ตำบลแหลมฟ้าผ่า   
 110504 - ตำบลปากคลองบางปลากด    
 110505 - ตำบลในคลองบางปลากด    
 
 06 - อำเภอบางเสาธง 110601 - ตำบลบางเสาธง   
 110602 - ตำบลศรีษะจรเข้น้อย    
 110603 - ตำบลศรีษะจรเข้ใหญ่   


คำขวัญประจำจังหวัดสมุทรปราการ


ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟราร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง
ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม
สมุทรปราการ หรือ เมืองปากน้ำ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองพระประแดง ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 29 กิโลเมตร สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด้านเหนือของอ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ 1,004 ตารางกิโลเมตร จังหวัดสมุทรปราการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น5 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และกิ่งอำเภอบางเสาธง 







สมุทรปราการ




สถาบันการศึกษา

การอุดมศึกษา

รัฐบาล

โรงเรียนสมุทรปราการโรงเรียนประจำจังหวัดชาย
โรงเรียนสตรีสมุทรปราการโรงเรียนประจำจังหวัดหญิง

เอกชน[แก้]

การอาชีวศึกษา[แก้]

รัฐบาล[แก้]

เอกชน[แก้]

การศึกษาขั้นพื้นฐาน[แก้]

คมนาค









สมุทรปราการ การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถส่วนบุคคลและรถประจำทาง โดยจุดรถประจำทางที่สำคัญได้แก่ บริเวณ บางนา สำโรง ปากน้ำ บางพลี และพระประแดง สำหรับการโดยสารทางเรือ ผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยา มีเรือโดยสารเลียบแม่น้ำ ขึ้นได้ที่ท่าน้ำปากน้ำ และมีการโดยสารข้ามแม่น้ำหลายจุด รวมทั้งบริเวณท่าน้ำพระประแดงมีท่าแพสำหรับบรรทุกรถข้ามแม่น้ำ การเดินทางทางอากาศผ่านทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และยังสามารถเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครได้โดยทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
นอกจากนั้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือ รฟม. จะทำการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท เข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ โดยได้แบ่งออกเป็น 2 ระยะต่อจากของกรุงเทพมหานครคือ ระยะที่สอง แบริ่ง - สมุทรปราการ (บางปิ้ง) จำนวน 9 สถานี รวมระยะทาง 12.6 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดเตรียมโครงการ และน่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2554 โดยในขณะนี้ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอำเภอเมืองสมุทรปราการไว้แล้ว และมีผลบังคับใช้ 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 รวมระยะทางตามแนวโครงการ 14 กิโลเมตร โดยผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดินจะถือว่าเป็น ผู้เสียสละ โดยจะได้รับเกียรติบัตร และยังได้รับการจารึกชื่อลงในแผ่นหินและนำไปแสดงไว้ที่สถานีปลายทางของโครงการในระยะที่สอง นอกจากนั้นยังมีการศึกษาแนวทางในการเดินรถระยะที่สาม ต่อจากบางปิ้งไปจนถึงบางปู (สถานพักผ่อนตากอากาศบางปู) จำนวน 4 สถานี ระยะทาง 7 กิโลเมตร


ประวัติของจังหวัดสมุทรปราการ






















ตราประจำจังหวัดสมุทรปราการ



จังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และยังเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร

ในสมัยอยุธยามีชื่อเมืองสมุทรปราการในกฎหมายซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2178 แต่ตัวเมืองจะตั้งอยู่ที่ใดในเวลานั้นไม่ปรากฏชัด มีหลักฐานแต่เพียงว่า ที่ปากคลองบางปลากด ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพ่อค้าชาวฮอลันดามาตั้งห้างพักสินค้าอยู่ ณ ที่นั้น และเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงแต่งสมณทูตไปลังกา กล่าวว่า ออกเรือจากเมืองธนบุรีไปถึงตึกฮอลันดาที่ตำบลบางปลากด แสดงว่า ที่นั่นคงมีผู้คนอาศัยอยู่มาก อาจเป็นตัวเมืองสมุทรปราการในครั้งนั้นก็ได้ ต่อมา เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ปรากฏหลักฐานว่า พม่าได้มาปล้นบ้านเรือนราษฎรที่ตำบลบางเมืองในเขตเมืองสมุทรปราการด้วย ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการบัดนี้ที่ตำบลบางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2362 พร้อมกับสร้างป้อมป้องกันเรือของข้าศึกรวม 6 ป้อม และใน พ.ศ. 2366 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์บนเกาะกลางน้ำด้วย อนึ่ง สมุทรปราการ เรียกกันเป็นสามัญว่า "ปากน้ำ" เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้าย ห่างจากปากแม่น้ำเข้ามาราว 6 กิโลเมตร[3]
จังหวัดสมุทรปราการเป็นเขตปริมณฑล จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ 1,004 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับกรุงเทพมหานคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศใต้จรดอ่าวไทย, ทิศตะวันตกติดต่อกับกรุงเทพมหานคร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางซีกตะวันตกของจังหวัด จากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่อ่าวไทย มีชายฝั่งทะเลยาว 47.5 กม. เดิมชายฝั่งทะเลมีป่าชายเลนกว้างขวาง เนื่องจากมีตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยานำพามาทับถมกันที่บริเวณปากน้ำ แต่ปัจจุบันมีการบุกรุกป่าชายเลน ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นบริเวณกว้าง[3]
ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดสมุทรปราการมีการทำนา ประมง และอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ วัดอโศการาม วัดบางพลีใหญ่ วัดไพชยนต์พลเสพราชวรวิหาร วัดโปรดเกศเชษฐาราม ศาลพระเสื้อเมือง พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ เมืองโบราณ สถานตากอากาศบางปู ป้อมพระจุลจอมเกล้า สวางคนิวาส ป้อมแผลงไฟฟ้า ฟาร์มจระเข้

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค

จังหวัดสมุทรปราการแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 6 อำเภอ ประกอบไปด้วย
  1. อำเภอเมืองสมุทรปราการ
  2. อำเภอบางบ่อ
  3. อำเภอบางพลี
  4. อำเภอพระประแดง
  5. อำเภอพระสมุทรเจดีย์
  6. อำเภอบางเสาธง
อำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ ใน 6 อำเภอ แบ่งออกเป็น 50 ตำบล 405 หมู่บ้าน

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 49 แห่ง ประกอบด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยมี 1องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 4 แห่ง เทศบาลตำบล 13 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 30 แห่ง จำแนกได้ดังนี้[4]


อ้างอิง
  1.  ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กระโดดขึ้น กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: