จังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และยังเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร
ในสมัยอยุธยามีชื่อเมืองสมุทรปราการในกฎหมายซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2178 แต่ตัวเมืองจะตั้งอยู่ที่ใดในเวลานั้นไม่ปรากฏชัด มีหลักฐานแต่เพียงว่า ที่ปากคลองบางปลากด ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพ่อค้าชาวฮอลันดามาตั้งห้างพักสินค้าอยู่ ณ ที่นั้น และเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงแต่งสมณทูตไปลังกา กล่าวว่า ออกเรือจากเมืองธนบุรีไปถึงตึกฮอลันดาที่ตำบลบางปลากด แสดงว่า ที่นั่นคงมีผู้คนอาศัยอยู่มาก อาจเป็นตัวเมืองสมุทรปราการในครั้งนั้นก็ได้ ต่อมา เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ปรากฏหลักฐานว่า พม่าได้มาปล้นบ้านเรือนราษฎรที่ตำบลบางเมืองในเขตเมืองสมุทรปราการด้วย ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการบัดนี้ที่ตำบลบางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2362 พร้อมกับสร้างป้อมป้องกันเรือของข้าศึกรวม 6 ป้อม และใน พ.ศ. 2366 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์บนเกาะกลางน้ำด้วย อนึ่ง สมุทรปราการ เรียกกันเป็นสามัญว่า "ปากน้ำ" เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้าย ห่างจากปากแม่น้ำเข้ามาราว 6 กิโลเมตร[3]
จังหวัดสมุทรปราการเป็นเขตปริมณฑล จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ 1,004 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับกรุงเทพมหานคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศใต้จรดอ่าวไทย, ทิศตะวันตกติดต่อกับกรุงเทพมหานคร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางซีกตะวันตกของจังหวัด จากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่อ่าวไทย มีชายฝั่งทะเลยาว 47.5 กม. เดิมชายฝั่งทะเลมีป่าชายเลนกว้างขวาง เนื่องจากมีตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยานำพามาทับถมกันที่บริเวณปากน้ำ แต่ปัจจุบันมีการบุกรุกป่าชายเลน ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นบริเวณกว้าง[3]
ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดสมุทรปราการมีการทำนา ประมง และอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ วัดอโศการาม วัดบางพลีใหญ่ วัดไพชยนต์พลเสพราชวรวิหาร วัดโปรดเกศเชษฐาราม ศาลพระเสื้อเมือง พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ เมืองโบราณ สถานตากอากาศบางปู ป้อมพระจุลจอมเกล้า สวางคนิวาส ป้อมแผลงไฟฟ้า ฟาร์มจระเข้
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
จังหวัดสมุทรปราการแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 6 อำเภอ ประกอบไปด้วย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 49 แห่ง ประกอบด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยมี 1องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 4 แห่ง เทศบาลตำบล 13 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 30 แห่ง จำแนกได้ดังนี้[4]
- อำเภอเมืองสมุทรปราการ
- เทศบาล 7 แห่ง : เทศบาลนครสมุทรปราการ เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ เทศบาลตำบลบางปู เทศบาลตำบลแพรกษา เทศบาลตำบลด่านสำโรง และเทศบาลตำบลบางเมือง
- อบต. 4 แห่ง : แพรกษา บางด้วน บางโปรง เทพารักษ์ และแพรกษาใหม่
- อำเภอบางบ่อ
- เทศบาล 4 แห่ง : เทศบาลตำบลบางบ่อ เทศบาลตำบลคลองสวน เทศบาลตำบลคลองด่าน และเทศบาลตำบลบางพลีน้อย
- อบต. 7 แห่ง : บางเพรียง บ้านระกาศ คลองด่าน บางบ่อ คลองนิยมยาตรา คลองสวน และเปร็ง
- อำเภอบางพลี
- เทศบาล 1 แห่ง : เทศบาลตำบลบางพลี
- อบต. 6 แห่ง : บางพลีใหญ่ บางแก้ว บางโฉลง บางปลา ราชาเทวะ และหนองปรือ
- อำเภอพระประแดง
- เทศบาล 3 แห่ง : เทศบาลเมืองพระประแดง เทศบาลเมืองลัดหลวง และเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย
- อบต. 6 แห่ง : ทรงคนอง บางกระสอบ บางยอ บางน้ำผึ้ง บางกะเจ้า และบางกอบัว
- อำเภอพระสมุทรเจดีย์
- เทศบาล 2 แห่ง : เทศบาลตำบลพระสมุทรเจดีย์และเทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า
- อบต. 4 แห่ง : บ้านคลองสวน ในคลองบางปลากด แหลมฟ้าผ่า และนาเกลือ
- อำเภอบางเสาธง
- เทศบาล 1 แห่ง : เทศบาลตำบลบางเสาธง
- อบต. 3 แห่ง : บางเสาธง ศีรษะจรเข้น้อย และศีรษะจรเข้ใหญ่
อ้างอิง
- ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น